วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

                         
                                 ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น 
      
 1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย บทความหรือมากกว่า ใช้ Keyword ว่า " แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา "  ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน


       แท็บเล็ต  เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัสปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป
        แท็บเล็ต   สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้  เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์"  หรือ  "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ
        การใช้แท็บเล็ต  โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
        ข้อดีของการใช้แท็บเล็ต คือ  ตอบสนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน มีความยืดหยุ่น  และสามารถส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนได้ดีและยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้ได้
        ส่วนข้อเสียของการใช้แท็บเล็ต  คือ  ในขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้แท็บเล็ต  ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน  ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ทั้งยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน  และมีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระในการเรียนรู้
          ที่มา http://www.chusak.net/index 
            http://www.gotoknow.org 


       2. อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร

อาเซียน มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่  บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน-มาร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ,สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ให้สามารถทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้อาเซียนมีความร่วมมือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งการช่วยเหลือให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  โดยอินโดนีเซีย วางตัวเป็นผู้ส่งออกไปยังตะวันออกกลาง สิงคโปร์และมาเลเซียก็วางตัวเป็นผู้ผลิตบุคลากรส่งออกทางด้านการแพทย์
ประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์เดียว เอกลักษณ์เดียว และประชาคมเดียว เพื่อความเจริญมั่นคงของประชากร ทรัพยากร และเศรษฐกิจ
การศึกษาไทยจึงเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเป็นกลไกในการปลูกฝังค่านิยม แนวความคิด ความเข้าใจกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ของอาเซียนและเศรษฐกิจโลก
ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.6 สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น
1. สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอน 
2.พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) จะมีการบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 
3.พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่าง
4.การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ ICT ได้
               การเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
๑. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub  มีการเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
๒. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน 


ที่มา : สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

http://web62.sskru.ac.th/aseansskru/maxsite/name=page&file
http://www.osmiebkk.moe.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=98:-2558-&catid=35:adnews&Itemid=125
http://www2.rsu.ac.th/news/readinesstoasean


3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น

การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา )และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้ "
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ด้านคือ
  • ศรัทธา คนเป็นครูต้องมีความศรัทธาในวิชาชีพของตนเอง ต้องมีความรักในความเป็นครู สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กได้
  • ความไว้วางใจ ครูต้องสร้างความไว้วางใจกับครูผู้ร่วมงานและกับนักเรียนให้ได้ จะต้องปฏิบัติตนอย่างจริงใจกับนักเรียนให้นักเรียนไว้วางใจ เพราะเมื่อนักเรียนไว้วางใจครูแล้วนักเรียนก็จะสามรถปรึกษาครูได้ทุกเรื่องเมื่อมีปัญหา ทำให้ครูสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนได้อย่างเต็มที่
  • สร้างแรงบันดาลใจ ครูจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เพราะการสร้างแรงบันดาลใจจะทำให้มีพลังในการดำเนินชีวิต ในการเป็นครูที่ดีของนักเรียน เมื่อครูมีแรงบันดาลใจเป็นของตนเองแล้ว ครูก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนได้
  • ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล ครูจะต้องยอมรับให้ได้ว่ามนุษย์ทุกคนแตกต่างกัน ต่างพ่อต่างแม่ ต่างคนก็ต่างความคิด ดังนั้นครูจะต้องยอมรับฟังความคิดของนักเรียนทุกคนโดยที่รับฟังอย่างมีเหตุผล ไม่มีอคติกับนักเรียนคนใดคนหนึ่ง เพราะถือว่านักเรียนทุกคนเป็นลูกศิษย์ของเรา     
ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน ควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1. หาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่าน การหาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่านทำให้เราเป็นคนที่แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทำให้เรามีความรู้ใหม่ๆ หนังสือที่ขายดีย่อมมีข้อคิด คำสอน หรือเนื้อหาที่ดี ทำให้เราได้รู้ในหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังไม่รู้ และในบางเรื่องที่เรารู้แล้วเราอาจสามารถต่อยอดความรู้เดิมได้อีกด้วย
2. อยู่กับปัจจุบัน ทันสมัย มนุษย์ทุกคนควรอยู่กับปัจจุบัน ไม่อยู่กับอดีตหรือเพ้อฝันถึงอนาคต เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วเราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้วนอกจากนำบทเรียนในอดีตมาแก้ไขปรับปรุงให้อยู่กับปัจจุบัน ครูทุกคนควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด อยู่กับโลกปัจจุบัน และนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้ในชีวิต
3. หาข้อมูล มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถในศาสตร์วิชาชีพของตน และครูจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานของเด็กแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเด็กในแต่ละช่วงวัยอายุ ว่าเด็กช่วงอายุไหนควรสอน ดูแล อบรมอย่างไรจึงจะเหมาะสม
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูจะต้องหาวิธีการสอนที่ตื่นเต้น น่าสนใจและในการสอนแต่ละครั้งควรชักจูงให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน กระตุ้นให้นักเรียนกล้าแสดงออก ให้นักเรียนแสดงออกถึงการเป็นภาวะผู้นำ โดยทุกคนในชั้นเรียนสามารถเป็นผู้นำกันได้ทุกคน โดยผลัดเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ครูจะต้องให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ มีการช่วยเหลือกัน มีการให้คำปรึกษาแนะนำกัน และที่สำคัญการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เกิดความสามัคคีภายในหมู่คณะ
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง การที่เด็กได้รับฟังวิทยากร จะทำให้เด็กได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ ทำให้เด็กสนใจที่จะใฝ่รู้ เพราะวิทยากรแต่ละท่านจะถ่ายทอดความรู้ให้เด็กอย่างหลากหลาย และมีวิธีการถ่ายทอดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้น่าสนใจค้นหา
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูควรจะฝึกให้เด็กคิดเอง มิใช่ป้อนความรู้ให้เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าที่จะคิด ไม่มั่นใจกับความคิดของตนเอง ครูจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ โดยครูเป็นผู้รับฟังความคิดของนักเรียนอย่างตั้งใจ และยอมรับความคิดที่แตกต่างของนักเรียนทุกคน 
ที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามาส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต  ข้าพเจ้ามีวิธีการเรียนรู้โดยใช้บล็อก คือ ข้าพเจ้าจะศึกษาหาความรู้ และจะทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้โดยการศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วนำมาประมวลเป็นความรู้ของตนเอง หลังจากนั้นก็นำมาโพสลงในบล็อก และข้าพเจ้ายังได้ศึกษาหาความรู้ โดยการอ่านบทความในบล็อกของอาจารย์ และของเพื่อนๆ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ที่หลากหลาย 
หากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อกต่อไป ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้ทำให้ทุกคนได้แสดงออกทางความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ ทุกคนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ ทุกเวลา และเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ด้วย
ข้าพเจ้าคิดว่าโอกาสข้างหน้าทุกคนจะให้ความสำคัญในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต่างๆก็ให้ความสำคัญ เพราะการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดของตนเองอย่างเต็มที่
ข้าพเจ้าจะให้คะแนนวิชานี้ คือ ถ้าคะแนนเต็ม 10 ข้าพเจ้าจะให้เต็ม 9 เพราะการจัดการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามาส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
ข้าพเจ้าต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ เกรด เพราะ 
1. ข้าพเจ้ามีความพยายามมากในการเรียนวิชานี้ ข้าพเจ้ามีความพยายามในการนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน นั่นคือโน้ตบุ๊คมาเรียนวิชานี้ทุกครั้ง เมื่อโน้ตบุ๊คของข้าพเจ้าเข้าอินเตอร์เน็ตไม่ได้ ก็สามารถทำงานที่อาจารยืสั่งได้ ข้าพเจ้าก็มีความกระตือรือร้นรีบนำโน้ตบุ๊คไปให้ทางร้านซ่อมดูว่าเกิดปัญหาอะไร
2. ข้าพเจ้าเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
3. ข้าพเจ้าทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4. ข้าพเจ้าทำงานบนบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
5.สิ่งที่ข้าพเจ้าตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง

      

กิจกรรมที 9

บรรยากาศในชั้นเรียน มีส่วนสำคัญในการส่งเสิรมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่ดีจะต้องมีบรรยาศที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน


                                                           คุณสมบัติของห้องเรียนที่ดี

1.มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง ความก้างพอเหมาะ
2.มีโต๊ะ เก้าอี้ เป็นระเบียบเรียบร้อย
3.มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้
4.มีการตกแต่งภายในห้องให้สดใส
5.ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น เสียง กลิ่น ควัน
6.มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน


กิจกรรมที่ 8


กิจกรรมที่ 8



ครูมืออาชีพในความคิดของข้าพเจ้า

                ครูมืออาชีพ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณภาพในการสอน เพราะคุณภาพในการสอนของครูย่อมส่งผลที่ดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ ซึ่งครูต้องมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอสามารถประยุกต์สิ่งต่างๆให้เข้ากับการเรียนการสอนได้ ที่สำคัญครูมืออาชีพ ต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู  
            นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรม จริยธรรม สอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์จรรยาบรรณของความเป็นครูที่ดี

ทดสอบกลางภาค


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความที่ 1
   1.  ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        การสอนแนะให้คิดเป็นการจัดการเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2  ซึ่งการสอนโดยการแนะให้รู้เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนวทางเท่านั้น  ผู้เรียนจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด  มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม ซึ่งกล่าวว่า  การเรียนรู้ของผู้เรียนต้องเกิดจากตัวผู้เรียนเอง โดยมีหลักการว่า  นักเรียนควรรู้อะไร  จะพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์อย่างไร  และจะจัดกิจกรรมอะไร  การสอนแนะให้รู้คิดในคณิตศาสตร์มีขั้นตอนขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ด้งนี้  เสนอปัญหา  ทำความเข้าใจปัญหา  แก้ปัญหา  และอภิปราย  การสอนแนะให้รู้คิดผู้สอนคณิตศาสตร์ต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างดีและจะต้องเข้าใจความคิดของผู้เรียนในการแก้ปัญหาต่างๆ ส่วนบรรยากาศในชั้นเรียน  ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยผู้สอนจะต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อนำไปประเมินผลต่อไป
 2.  ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
       จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของตนเองออกมาอย่างเต็มที่ และส่งเสริมหู้เรียนเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  มีทักษะในการคิด  การให้เหตุผล  และมีทักษะเชื่อมโยง  โดยให้ผู้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

3.  ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไ
      มีการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ  แต่ละรูปแบบจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น  และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบานการคิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  มีการถามตอบระหว่างการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นของต้นเองออกมา  และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
 บทความที่ 2
1.   ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นครูของแผ่นดิน  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงสอนให้คนไทยรู้จักและเข้าใจดิน น้ำ ลม ไฟ  สอนให้รู้จักการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น  ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนทำได้เลย  พระองค์ทรงสอนทุกสิ่งทุกอย่างจากห้องเรียนจริง และเรื่องที่พระองค์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ  เรื่องการเกษตร  และยังมีเรื่องอื่นๆ รวมทั้งเรื่องการศึกษา  ดังที่พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า “ ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ”  การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักทุกอย่างเป็นเพราะต้องการที่จะเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ  ในเรื่องที่พระองค์ไม่รู้พระองค์ก็จะต้องทำให้รู้ให้ได้ เพื่อที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับประชาชนในประเทศของพระองค์
2.    ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
        ถ้าเป็นครูดิฉันก็จะเป็นครูที่ใฝ่เรียนรู้เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ  ดิฉันจะถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับนักเรียนโดยไม่กักความรู้  และจะทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน  เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม  ดิฉันจะสอนให้นักเรียนเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้ เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.     ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไ
จะจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง  ได้คิดหาวิธีการแก้ปัญหา  ได้ลองผิดลองถูกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง    และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมที่ 7



โทรทัศน์ครู

  เป็นการใช้เทคนิคง่ายๆ  ที่เป็นรูปธรรม  สามารถจับต้องได้  โดยใช้เหรียญที่มีด้านหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวกหนึ่ง  และอีกด้านเป็นจำนวนเต็มลบหนึ่ง  มาฝึกฝนทักษะในการบวกจำนวนเต็ม  2  จำนวน  จนทำให้นักเรียนลดความสับสนเกี่ยวกับการบวกจำนวนเต็มที่มีเครื่องหมายข้างหน้าต่างกัน  นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ มีความรู้ที่ฝั่งแน่นได้เป็นอย่างดี

บรรยากาศในชั้นเรียน
ใช้สื่อที่ทันสมัยในการเรียนการสอนและมีเครื่องมือการสอนที่ชัดเจนสามารถฝึกฝนทำเองได้  ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งนั้นเองได้

คุณครูโฉมนภา วัชรัมพร คุณครูคณิตศาสตร์แห่งโรงเรียนสายปัญญารังสิต จังหวัด ปทุมธานี

กิจกรรมที่ 6

ศึกษาภัยที่อยู่ใกล้ตัวเรา

กิจกรรมที่ 5

ครูในดวงใจ

ครูในดวงใจ
    
ประวัติ
ชื่อ          
:   ครู วาริณี พรมศรี
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ปีที่จบ 2003 · กศ.ม.  คณิตศาสตร์ · Phitsanulok   ปริญญาโท
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย : 
จักรคำคณาทร ลำพูน    ปีที่จบ 1993 · Lamphun  ม.4-6โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูนLamphunม.1/3
ปรัชญา   :   คิดดี ทำดี แล้วจะได้ดี
บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจของครู วาริณี : 
 คนที่เรารักและคนที่รักเรา
กีฬาที่ชื่นชอบ              :
   แบตมินตัน
ศิลปะและความบันเทิง : 
แพ้ใจ ใหม่ เจริญปุระ
ดนตรี                           :  
รักไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ภาพยนตร์                    :   
กวน มึน โฮ  ,สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก
กิจกรรมและความสนใจ  :
  อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ที่ยว
        คนธรรมดาคนหนึ่งแต่ทำอะไรทำจริง อดทน ไม่คาดหวัง ใช้ชีวิตในทุกๆวันอย่างมีความสุข ตั้งใจ สนุกสนานในการทำงาน และมีอะไรพิเศษสำหรับครอบครัว แค่นี้ก็ภูมิใจแล้ว
ตำแหน่ง                         :    ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน                :   โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน

ข้อมูลด้านการศึกษา

                          ระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (คบ.)    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
                          ระดับปริญญาโท  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (กศ.ม.)    มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

ผลงานดีเด่น
  ครูแกนนำสาขาคณิตศาสตร์   ปีการศึกษา 2545
  ครูต้นแบบสาขาคณิตศาสตร์  ปีการศึกษา 2548
   ครูดีในดวงใจระดับโรงเรียน  ปีการศึกษา 2550
  ครูที่ปรีกษาดีเด่นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ปีการศึกษา 2545
   รางวัลหนึ่งแสนครูดี  ของคุรุสภา   ปีการศึกษา 2554 

สิ่งที่ดีของครูที่นำมาประยุกต์ใช้ได้

               จากการที่ได้ศึกษาประวัติและผลงาน  ของครูวาริณีพรมศรี แล้วประทับใจมากเพราะทั้งระบบการสอนของครูนั้นบอกได้เลยว่าไม่ธรรมดาเลย  เพราะครูวาริณีบอกว่าการเป็นครูคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรคณิตศาสตร์แนวใหม่ครูผู้สอนไม่ควรทิ้งการปูพื้นฐาน
 การเข้าใจที่มา  เน้นการคิด
เชิงวิเคราะห์พร้อมทั้งควรสร้างโจทย์ปัญหาและแนวข้อสอบที่หลากหลาย
  โดยครูที่มีคุณภาพในการ
สอน
  ควรสอนอย่างจริงจัง  ควรสอนที่ใช้สื่อ  อุปกรณ์  และแหล่งเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจน  พร้อมควรเสริมด้วยเทคนิคคิดเลขเร็ว  โจทย์ปัญหาที่ท้าทายความคิด  ปรับเนื้อหาเข้ากับระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละกลุ่มในช่วงชั้นที่ทำการสอน  มีการทดสอบวัดระดับและติดตามผลการเรียนอย่างต่อเนื่อง   การจัดการเรียนรู้ในบรรยากาศ
สนุกสนาน
  เอื้อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มความมั่นใจในการเรียนเพื่อผลการเรียนที่ดีขึ้นวิธีที่สามารถนำเป็นแนวทางได้คือ


การปลดล็อคการสอนคิดคณิตศาสตร์


              ในการสอนคิดคณิตศาสตร์
  เป็นกระบวนการคิดที่ครูผู้สอนนำขั้นตอนกระบวนการคิดเพื่อ
แก้ปัญหานำมาใช้อย่างรู้ตัว
  โดยอาจดำเนินไปเป็นขั้นตอนของกระบวนการคิด  เพื่อใช้ในการสอนคิดคณิตศาสตร์  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

              ขั้นที่ 1  การปลดล็อคทางความคิด  เป็นขั้นตอนให้ครูผู้สอนได้ปลดล็อคความคิดเก่าเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้  โดยคำนึงถึงเทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
               ขั้นที่ 2  การนำความคิดเข้าสู่ปัญหา เป็นการศึกษาของสภาพปัญหาว่าเป็นอย่างไร  ปัญหาเกิดจากอะไรบ้าง  ซึ่งเป็นการค้นพบปัญหาที่อาจจะเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
              ขั้นที่ 3  การนำความคิดเพื่อวิเคราะห์ปัญหา เป็นการศึกษา  วิเคราะห์  วิพากษ์ วิจารณ์ 
ให้รู้ว่าปํญหาที่แท้จริงคืออะไรแน่  และอะไรบ้างที่ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
              
ขั้นที่ 4  การนำความคิดเพื่อระบุปัญหา เป็นการนำเอาปัญหาที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงมาเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษา  รวบรวมข้อมูลสำหรับแต่ละเรื่อง
              
ขั้นที่ 5  การนำความคิดเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหานั้นๆ  ว่าจะให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านใด  เป็นปริมาณมากน้อยเพียงใด  มีคุณค่าสูงต่ำเพียงใด
               
ขั้นที่ 6  การนำความคิดเพื่อตั้งสมมติฐาน เป็นการเสนอแนวทางและวิธีการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหาที่อาจจะนำให้สามารถแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จ
            ขั้นที่ 7  การนำความคิดเพื่อทดลองหรือทดสอบสมมติฐาน เป็นการนำวิจัยแก้ปัญหาในขั้นตั้งสมมติฐานไปใช้ในการแก้ปัญหา
            
ขั้นที่ 8  การนำความคิดเพื่อสรุปผลและรายงานผล  เป็นการสรุปผลและรายงานผลในการสอนคิดคณิตศาสตร์  โดยใช้กระบวนการคิดในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้
            
ขั้นที่ 9  การนำความคิดเพื่อการนำไปใช้  เป็นการนำความคิดเพื่อการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์